เรซูเม่ (resume) คืออะไร

เรซูเม่ (resume) คืออะไร

 

 

รับทำเรซูเม่สมัครงาน เรซูเม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า CV และ ไบโอดาต้า (bio-data) คือเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และความสามารถ เอกสารนี้มักใช้สำหรับยื่นประกอบการสมัครงาน, การขอฝึกงาน หรือการสมัครเรียนระดับอุดมศึกษา

หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรซูที่เก่าแก่ที่สุด พบที่ประเทษอิตาลี ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าถูกเขียนเมื่อศตวรรษที่ 15 โดยลีโอนาร์โด ดาวินชี เขียนเอกสารที่ระบุความสามารถ และผลงานต่างๆของตนเองเพื่อประกอบการสมัครงาน อย่างไรก็ตาม รูปแบบของเรซูเม่ที่คนใช้กัน ณ ปัจจุบันนั้นเริ่มมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายใน ศตวรรษที่ 20

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ผลิตเอกสารทางการ เรียกว่า Civil Service Application เพื่อให้การคัดเลือกพนักงานรัฐได้อย่างมีมาตรฐานยิ่งขึ้น ซึ่งผู้สมัครงานราชการจะต้องระบุระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ในรูปแบบที่มีมาตรฐาน ต่อจากนั้น บริษัทและองกรณ์ต่างๆก็เริ่มนำเอกสารดังกล่าวมาดัดแปลงเพื่อใช้เพื่อประกอบการรับสมัครพนักงานแล้วเอกสารนั้นจึงวิวัฒนาการมาเป็นเรซูเม่ที่เราเห็นได้ในยุคปัจจุบัน

ตอนนี้ เรซูเม่มีหลากหลายรูปแบบ เรซูเม่แต่ละประเภทอาจมีเนื้อหาและรูปแบบที่ต่างกันได้ รับทำเรซูเม่สมัครงาน ยกตัวอย่างเช่น อาจเน้นความสามารถของผู้สมัครงานเป็นหลัก, เน้นการศึกษาของผู้สมัครงาน หรือเน้นประวัติการทำงาน และช่วงเวลาที่ทำงานในแต่ละตำแหน่ง หรืออาจรวมข้อมูลหลายประเภทมารวมกันเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เรซูเม่และพอร์ทโฟลิโอสามารถทำผ่านระบบดิจิตอล ทำให้ผู้สมัครงานสามารถแสดงคุณสมบัติของตนเองได้อย่างน่าสนใจยิ่งขึ้น

 

 

ความแตกต่างระหว่าง เรซูเม่ CV และ bio-data

คำว่า “รซูเม่, CV และ bio-data มักถูกใช้แทนกัน แต่หารู้ไม่ เอกสาร 3 ประเภทที่ดล่าวมานั้นมีรูปแบบและการใช้งานที่แตกต่างกันเล็กน้อย

  • เรซูเม่: มักมีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติการศึกษาแบบย่อ ประสบการณ์การทำงาน และผลงานที่โดดเด่น เรซูเม่มักมีเนื้อหาไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ โดยจะมุ่งเน้นข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เกียวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร เรซูเม่ นั้นนิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา
  • Cีrriculum vitae หรือ CV: คล้ายกับเรซูเม่ แต่จะมีข้อมูลที่ละเอียดมากกว่าเรซูเม่ เนื้อหาของ CV มักจะมี 2-4 หน้ากระดาษ ประกอบด้วยประวัติการศึกษา, ประสบการณ์การทำงาน, งานวิจัย, งานวิจัยหรือบทความที่ได้รับการตีพิมพ์, รางวัลต่างๆ และผลงานอื่นๆ CV นั้นมักใช้สำหรับการสมัครปริญญาโท ปริญญาเอก สายงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการทำงานวิจัย และนิยมใช้ในประเทศแถบยูโรปและเอเชีย
  • ไบโอดาต้า (bio-data): เป็นเอกสารที่มีข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดกว่า เรซูเม่ และ CV เช่น ชื่อ/สกุล, อายุ, ที่อยู่, การศึกษา, ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว ข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัว และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของไบโอดาต้า เอกสารประเภทนี้นิยมใช้ในประเทศอินเดีย และประเทศเขตเอเชียใต้ และมักใช้สำหรับการสมัครงาน รวมถึงการแนะนำตัวเองผ่านเอกสารเพื่อหาคู่รัก

โดยรวมแล้ว เอกสาร 3 ประเภทนี้แตกต่างกันเพียงแค่ วัตถุประสงค์การใช้งาน, รูปแบบ และเนื้อหา โดยที่ CV จะมีข้อมูลมากที่สุด และเน้นไปทางความสำเร็จทางการศึกษาและการทำงาน ส่วน เรซูเม่จะคล้ายกับ CV ฉบับย่อ และเนื้อหาจะไม่เฉพาะเจาะจงเท่า CV สุดท้ายคือ bio-data ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลส่วนตัว และภูมิหลังของผู้เขียนเป็นหลัก

 

ข้อมูลที่ควรมีในเรซูเม่

  • ข้อมูลส่วนตัว – เริ่มต้นการแนะนำตัวด้วย ชื่อและนามสกุล, ข้อมูลติดด่อ, สัญชาติ (เผื่อสมัครงานต่างประเทศหรืองานนานาชาติ), ข้อมูลติดต่อ, วัน/เดือน/ปี เกิด เรซูเม่ควรจะมีรูปถ่ายของเจ้าตัวด้วย
  • ข้อมูลการทำงาน – ถัดมาจากข้อมูลส่วนตัว เรซูเม่จะต้องมี ข้อมูลประวัติการทำงาน, ประสบการณ์การทำงาน, ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน, ความสามารถพิเศษ แต่ควรจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของ bullet point เป็นข้อๆ เพื่อให้อ่านง่าย
  • การศึกษา – ประเทศไทยให้ความสำคัญกับระดับการศึกษามาก ดังนั้นในเรซูเม่ควรจะมีประวัติการศึกษาที่เกี่ยวกับจุดประสงค์การใช้เรซูเม่นั้นให้มากที่สุด คือชื่อสถาบันศึกษา, ระดับการศึกษา, สาชาวิชาที่เรียน, เกียรติบัติ, ประวัติการฝึกงาน, ระดับเกียรตินิยม, รางวัลที่เคยรับ และวันที่สำเร็จการศึกษา
  • ประวัติการทำงาน – ไล่เรียงประวัติและประสบการณ์การทำงานโดยเรียงจากงานล่าสุดย้อนไปในอดีต ควรใส่เฉพาะประสบการณ์งานที่แสดงความสามารถและศักยภาพการทำงานของเจ้าของเรซูเม่
  • ทักษะและความสามารถ – เรซูเม่จะต้องพูดถึงความสามารถทั้ง Hard skills ก็คือความสามมารถที่สามารถฝึกฝนได้ และสามารถวัดความสามารถได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่นความสามารถในการออกแบบซอฟแวร์ และ Soft skills ก็คือความสามารถที่มาคู่กับลักษณะส่วนตัว เช่น เป็นคนที่สื่อสารได้เก่ง สุภาพ ใจเย็น เป็นผู้นำที่ดี เป็นต้น ทั้ง Hard skills และ Soft skills สำคัญต่อการสมัครงานมาก
  • ความสามารถทางด้านภาษา – ประเทศไทยให้ความสำคัญกับความสามารถทางด้านภาษามาก ดังนั้นควรระบุระดับการสื่อสารในภาษาต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อตำแหน่งที่จะสมัคร หากมีประสบการณ์การใช้ชีวิตที่ต่างประเทศก็ควรจะพูดถึงในเรซูเม่ด้วย
  • ความสำเร็จ – ควรมีข้อมูลผลงานที่ทำสำเร็จแบบสามารถวัดค่าได้ และอ่านแล้วเห็นภาพได้ง่าย โดยเฉพาะผลงานที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการเป็นผู้นำ และความทุ่มเทต่องาน
  • ใบประกอบวิชาชีพและประกาศนียบัตร : เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัคร เช่น ประกาศนียบัตรรับรองการอบรม, ใบประกอบวิชาชีพต่าง, ใบรับรองการเป็รผู้เชี่ยวชาญ
  • งานอดิเรก – ข้อมูลงานอดิเรกอาจช่วยส่งเสริมคุณลักษณะส่วนตัวได้มาก ควรเลือกงานอดิเรกที่แสดงความสามารถที่สามารถนำมาใช้ในงานที่สมัคร เช่น เป็นประธานชมรม และกัปตันทีมฟุตบอล อาจสื่อได้ว่าผู้นั้นสามารถทำงานเป็นทีม และมีความเป็นผู้นำสูง
  • บุคคลอ้างอิง – ข้อมูลบุคคลอ้างอิงนั้นมีเพื่อให้ผู้รับสมัครงานตรวจสอบข้อเท็จจริงกับคนที่เชื่อถือได้ เช่น เจ้านายคนเก่า, นายจ้างคนเก่า, อาจารย์ที่ปรึกษาตอนเรียน เป็นต้น

ควรนัดสัมภาษณ์งานเวลาไหน?

 

การระบุวันและเวลาสัมภาษณ์งานที่ดีนั้นยากมาก จะแปรผันขึ้นอยู่กับปริมาณงาน เวลาทำงานของผู้สัมภาษณ์ และลักษณะเฉพาะที่ต่างกัันของแต่ละองค์กรหรือบริษัท อย่างไรก็ตาม เรามีแนวทางคร่าวๆสำหรับการนัดวัน / เวลา สัมภาษณ์ที่ดีได้ดังนี้

 

หลีกเลี่ยงฤดูเทศกาล หรือช่วงที่ฝ่ายจัดหาบุคคลทำงานหนัก: หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการนัดสัมภาษณ์งานในช่วงฤดูเทศกาล, ช่วงจบปีงบประมาณ, หรือช่วงที่บริษัทหรือองค์กรนั้นๆมีงานหนัก เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์โฟกัสกับการสัมภาษณ์ได้มากที่สุด

 

กลางสัปดาห์: นัดสัมภาษณ์งานวัน อังครา พุธ และพฤหัส เพราะวันจันทร์กับศุกร์มักจะเป็นวันที่งานหนักที่สุด เพราะฉะนั้นหากนัดวันสัมภาษณ์ได้ในช่วงที่ผู้สัมภาษณ์ว่าง และสะดวก ผู้สัมภาษณ์จะไม่รีบ ไม่เครียด และตั้งสมาธิกับการสัมภาษณ์ได้มากขึ้น

 

ควรนัดกี่โมง?: ไม่ควรนัดสัมภาษณ์ในเวลาที่ผู้สัมภาษณ์ยุ่ง เช่นตอนเช้าหลังเข้างานทันที หรือตอนหลักพักเที่ยงทันที ควรนัดสัมภาษณ์ในเวลาที่ผู้สัมภาษณ์สะดวกที่สุด เพื่อให้เขาสามารถจัดการงานอื่นๆให้เสร็จทำให้เขามีเวลาสัมภาษณ์เราได้แบบไม่เร่งรีบ

 

โดยรวมแล้ว การนัดสัมภาษณ์งานควรเลือกวันและเวลาที่ผู้สัมภาษณ์สะดวกที่สุด และมีเวลาให้เขาโฟกัสกับการสัมภาษณ์มากที่สุด แนวทางที่ง่ายที่สุดนั้นก็คือ นัดกับผู้สัมภาษณ์ว่าเราสะดวกเวลาไหนบ้าง เขาสะดวกเวลาไหนบ้าง แล้วนัดวันและเวลาที่สะดวกกันทั้งสองฝ่าย แต่ควรเอาเวลาของผู้สัมภาษณ์เป็นที่ตั้งก่อน

 

wrockette.com